ประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก รายละเอียด : ความหมายและสัญลักษณ์ของ อถล. อถล. เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนในท้องถิ่นที่มีจิตอาสาในการช่วยเหลืองานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” หมายความว่า ประชาชนที่มีจิตอาสา สมัครใจ เสียสละ และอุทิศตน เพื่อช่วยเหลืองานด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้อง และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้ชื่อย่อว่า “อถล.” มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า “Local Environment Volunteer” และใช้ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า “LEV” “เครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” หมายความว่า การเชื่อมโยงกันของ อถล. เพื่อการเรียนรู้แลกเปลี่ยนข่าวสาร หรือทํากิจกรรมร่วมกัน ในการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย รักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติด้วยความเป็นอิสระและเท่าเทียมกันของบุคคล ภายใต้พื้นฐานการเคารพสิทธิและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน และใช้หลักธรรมาภิบาลในการทํางานร่วมกัน โดยใช้ชื่อย่อว่า “เครือข่าย อถล.” และเรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า “Local Environment Volunteer Network” และใช้ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า “LEV-Net”
ที่มา ของ อถล.
• ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก พ.ศ.2561 ได้กำหนดแนวทางการรวมกลุ่มของอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก หรือ อถล. ซึ่งเป็นผู้ที่มีจิตอาสาช่วยเหลืองานเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
• จังหวัดพัทลุง ให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประชาสัมพันธ์โครงการอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกให้ประชาชนทราบ และรับสมัครบุคคลที่มีความสนใจ และสมัครใจ ทำงานด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมสมัครเป็นอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก
บทบาทและหน้าที่ อถล.
• คัดเลือกคณะกรรมการ อถล. จำนวน ไม่น้อยกว่า 9 คน
• จัดทำปฏิทินแนวทางการจัดกิจกรรมสำหรับอาสาสมัครท้องถิ่น กำหนดเป็นรายไตรมาส เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
บทบาทของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
1. ประชุมขับเคลื่อนและติดตามนโยบายของรัฐบาลและภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ประจำปี 2566 ผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล (VCS) เมื่อวันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
2. สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ติดตามนโยบายฯ ทุกเดือน
บทบาทและหน้าที่เทศบาล
• รับสมัคร อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก อย่างน้อย 1 อถล. ต่อ 1 ครัวเรือน
(ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก พ.ศ.2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม 2561 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป)
• ขับเคลื่อนและติดตามกิจกรรมอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ให้มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
• ใช้กลไก อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ในการรณรงค์ให้ประชาชนทิ้งขยะในภาชนะที่จัดเตรียมไว้ ตามประเภทของขยะ โดยไม่ให้ตกหล่นตามพื้นในพื้นที่สาธารณะ หรือลงในแม่น้ำลำคลอง และออกสู่ทะเล อันจะเกิดปัญหาด้านมลพิษแก่สิ่งแวดล้อม
• สนับสนุนให้ อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก สามารถดำเนินกิจกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• รายงานจำนวนอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ให้ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ทราบเป็นรายเดือน ทุกเดือน
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก พ.ศ.2561
สาระสำคัญ
1. ความหมายของ อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก หมายความว่า ประชาชนที่มีจิตอาสา สมัคร เสียสละ และอุทิศ
ตนเพื่อช่วยเหลืองานด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้อง และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของ องค์กรปกครองท้องถิ่น ใช้ชื่อย่อ ว่า อถล.
2.คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก อถล. และเครือข่าย อถล.
ตามระเบียบนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
• ส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการ สิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน
• เสริมสร้างจิตสำนึก กระบวนการเรียนรู้และการพึงพาตนเอง รวมทั้งถ่ายถอดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการ สิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน
• ประสานความร่วมมือในการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อมระหว่าง อถล. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ และเครือข่าย
คุณสมบัติของ อถล.
ผู้ที่สนใจจะสมัคร ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 7 ปีบริบูรณ์
3. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น
4. มีความสนใจและมีจิตอาสาเข้าร่วมดำเนินกิจกรรม
5. เป็นบุคคลที่มีความเสียสละและอุทิศตัวในการทำงานเพื่อส่วนร่วม
บทบาทและหน้าที่ ของ อถล.
1. ประพฤติตนเป็นแบบอย่างในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
2. เฝ้าระวัง สอดส่อง ดูแล และรายงานสถานการณ์การบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลฯ
3. สื่อสาร เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลฯ
4. เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลฯ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดขึ้น
5. ให้ความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ ภาคเอกชน และเครือข่าย อถล. เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลฯ
การรับสมัคร อถล.
1. ผู้ทีสนใจสมัครเป็น อถล. และมีคุณสมบัติตามข้อ 6 ให้ยื่นใบสมัคร ต่อ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตามแบบ ที่กำหนด
2. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครและขึ้นทะเบียนการพิจารณาเป็น อถล.
3.บัตรประจำตัว อถล.ให้มีอายุ 5 ปี
การจัดตั้ง คณะกรรมการ
• ให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดให้มีการประชุม อถล.เพื่อคัดเลือกกันเอง จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 9 คน เพื่อทำหน้าที่คณะกรรมการเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ประกอบด้วย
o -ประธานกรรมการ
o -รองประธานกรรมการ
o -เลขานุการ
o -กรรมการฝ่ายต่าง ๆ
• ให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำประกาศ และประกาศให้ประชาชนทราบ ณ สถานที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เห็นสมควร
• มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี เมื่อครบกำหนดให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการใหม่ ภายในกำหนดเวลา 30 วัน
หน้าที่ของ คณะกรรมการ
1. จัดทำแผนปฏิบัติงาน
2. ดำเนินการตามแผนหรือนโยบายที่กำหนดไว้
3. รายงานผลการดำเนินงานให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทราบ พร้อมทั้งปิดประกาศให้ประชาชนทราบ
อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
องค์กรปกครองท้องถิ่น มีหน้าที่ ส่งเสริมและสนับสนุน อถล.
1 .ตรวจสอบคุณสมบัติ พิจารณารับลงทะเบียนผู้สมัครเป็น อถล. รวมถึงปรับปรุงข้อมูลทะเบียน
2. ทำบัตรประจำตัว อถล.
3. จัดปฐมนิเทศ ฝึกอบรม หรือประชุม สัมมนา อถล. เพื่อพัฒนา อถล.ให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ส่งเสริม สนับสนุนในการจัดกิจกรรมของ อถล.
5. ติดตามผลการดำเนินการ